มีข่าวที่น่าตกใจกับการหายไปของซีเซียม 137 จากเตาปฏิกรณ์ในโรงงานผลิตไฟฟ้าพลังไอน้ำในจังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งซีเซียม 137 เป็นไอโซโทปกัมมันตรังสีของธาตุซีเซียม ที่พบได้แพร่หลายที่สุด ถึงแม้ว่าเจ้าหน้าที่จากสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติจะหาซีเซียม 137 จบพบ แต่วัตถุกัมมันตรังสีชนิดนี้ก็ได้ถูกเคลื่อนย้ายไปในหลายพื้นที่ รวมถึงเขตชุมชน ผลกระทบของซีเซียม 137 ในคนและสิ่งแวดล้อมนั้น มีอันตรายร้ายแรงที่อาจจะส่งผลถึงแก่ชีวิต เรามาดูกันตั้งแต่ต้นดีกว่า ว่าวัตถุกัมมันตรังสีตัวนี้คืออะไร มีผลกระทบอย่างไร และมีวิธีการรักษาหรือไม่
ล่าสุด มีข่าวที่น่าตกใจกับการหายไปของซีเซียม 137 จากเตาปฏิกรณ์ในโรงงานผลิตไฟฟ้าพลังไอน้ำในจังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งซีเซียม 137 เป็นไอโซโทปกัมมันตรังสีของธาตุซีเซียม ที่พบได้แพร่หลายที่สุด ถึงแม้ว่าเจ้าหน้าที่จากสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติจะหาซีเซียม 137 จบพบ แต่วัตถุกัมมันตรังสีชนิดนี้ก็ได้ถูกเคลื่อนย้ายไปในหลายพื้นที่ รวมถึงเขตชุมชน ผลกระทบของซีเซียม 137 ในคนและสิ่งแวดล้อมนั้น มีอันตรายร้ายแรงที่อาจจะส่งผลถึงแก่ชีวิต เรามาดูกันตั้งแต่ต้นดีกว่า ว่าวัตถุกัมมันตรังสีตัวนี้คืออะไร มีผลกระทบอย่างไร และมีวิธีการรักษาหรือไม่
ซีเซียม 137 คืออะไร
ซีเซียม 137 เป็นไอโซโทปกัมมันตรังสีของธาตุซีเซียม ที่พบได้แพร่หลายที่สุด ซึ่งสามารถผลิตได้จากกระบวนการที่มีชื่อว่า “นิวเคลียร์ ฟิชชัน”หรือการแบ่งแยกของธาตุยูเรเนียมและพลูโตเนียมในเตาปฏิกรณ์หรือระเบิดปรมาณู ซีเซียม 137 แผ่สารกัมมันตรังสีออกมา 2 ชนิด ได้แก่ อนุภาคบีตา (Beta particles) และรังสีแกมมา (Gamma Rays) ค่าครึ่งชีวิตของวัตถุกัมมันตรังสีชนิดนี้ มีค่าถึง 30.17 ปี แล้วจะใช้เวลาประมาณ 300-600 ปีในการสลายไปทั้งหมด ในระหว่างนี้สารกัมมันตรังสีที่แผ่ออกมาก็ได้สร้างความเสียหายเป็นวงกว้าง
การใช้งานซีเซียม 137
หลังจากที่ได้พูดถึงผลกระทบไปคร่าวๆ ทุกคนคงสงสัยว่า ถ้าวัตถุกัมมันตรังสีชนิดนี้อันตรายขนาดนี้ แล้วทำไมมนุษย์ยังนำมันมาใช้อยู่ ในการดูแลอย่างใกล้ชิดและการบังคับใช้ที่เข้มงวด ซีเซียม 137ก่อให้เกิดประโยชน์มากกว่าโทษ ในปริมาณเล็กน้อย สามารถใช้ในการสอบเทียบเครื่องมือวัดรังสี และในปริมาณมากนั้น สามารถใช้ได้ในเครื่องฉายรังสีรักษามะเร็ง และอุปกรณ์วัดต่างๆในอุตสาหกรรม
ผลกระทบต่อร่างกาย
จากที่กล่าวมาข้างต้น ซีเซียม 137 เป็นสารที่แผ่สารกัมมันตรังสี เรามาทำความเข้าใจกับสาร 2 ชนิดนี้กันดีกว่า
อนุภาคบีตา (Beta particles) มีความสามารถในการทะลุผ่านเสื้อผ้าและชั้นผิวหนังได้ ส่งผลให้เกิดความเสียหายภายนอก เช่นผิวไหม้ หากกลืนหรือสูดสารนี้เข้าไป จะมีความอันตรายเป็นอย่างมาก โดยจะส่งผลให้เซลล์และอวัยวะภายในเกิดความเสียหาย
รังสีแกมมา (Gamma Rays) เป็นรังสีไอออไนซ์ที่อันตรายที่สุด ซึ่งสามารถทะลุผ่านชั้นผิวหนังได้ลึกกว่าอนุภาคบีตา จึงมีความอันตรายกว่า รังสีชนิดนี้สามารถผ่านทะลุได้ทั่วทั้งร่างกาย ส่งผลกระทบโดยตรงถึงเนื้อเยื่อในร่างกาย ตั้งแต่ผิวหนังถึงไขกระดูก ผลที่ตามมาคือความเสียหายในระดับดีเอ็นเอ ก่อให้เกิดเกิดความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็ง
เราจะรู้ได้อย่างไรหากสัมผัสถูกซีเซียม 137
หากสัมผัสกับซีเซียม 137 ในปริมาณมาก อาการเบื้องต้นคือคลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง และเลือดออกตามผิวหนัง ในกรณีที่ร้ายแรง อาจทำให้เกิดอาการโคม่า และเสียชีวิตในที่สุด
มียารักษาสำหรับการสัมผัสซีเซียม 137 หรือไม่
ในปัจจุบัน มียาแก้พิษของซีเซียม 137 ที่มีชื่อว่า “ปรัสเซียนบลู” (Prussian Blue) เป็นยาที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัย สำหรับการรักษาภาวะพิษสารเคมี ยาชนิดนี้เป็นยาเม็ด ทำงานโดยการกำจัดวัตถุกัมมันตรังสีซีเซียมออกจากร่างกาย ผ่านการดักจับและป้องกันการดูดซึมของซีเซียมเข้าสู่ร่างกาย วัตถุกัมมันตรังสีเหล่านี้จะเคลื่อนผ่านลำไส้และถูกขับออกจากร่างกาย ยาตัวนี้สามารถจ่ายได้โดยแพทย์เท่านั้น ดังนั้นหากใครมีอาการตามที่กล่าวมา ควรรีบไปโรงพยาบาลเพื่อพบแพทย์ให้เร็วที่สุด