Browse shop or brand in True Digital Park
Subscribe to Newsletters
17
Aug/24

READ & LEARN ทำความรู้จักกับ 4 แหล่งเงินทุน
ที่ชาวสตาร์ทอัพควรรู้เอาไว้

แหล่งเงินทุนสำหรับสตาร์อัพ โดยแหล่งแรกนั้นก็คือ Venture Capital

ในการเริ่มต้นทำธุรกิจทุกประเภท เราคงไม่สามารถปฏิเสธได้ว่านอกจากไอเดียสุดสร้างสรรค์แล้วนั้น ผู้ประกอบการจำเป็นต้องมีเงินทุนในการเริ่มต้นทำธุรกิจ โดยไม่ว่าธุรกิจจะมีขนาดเล็กหรือใหญ่ เงินทุนนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากที่จะช่วยต่อยอดไอเดียต่างๆให้เป็นรูปเป็นร่างและสามารถดำเนินการต่อไปได้ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในธุรกิจสตาร์ทอัพ ที่จำเป็นจะต้องมีแหล่งเงินทุนเพื่อเข้ามาสนับสนุนธุรกิจตั้งแต่ระยะแรกจนเริ่มสร้างรายได้ จนมีโอกาสที่จะเติบโตและขยายธุรกิจต่อไปเพื่อเข้าสู่ตลาดใหม่ๆในอนาคต ซึ่งในปัจจุบันแหล่งเงินทุนสำหรับสตาร์อัพนั้นมีด้วยกันหลากหลายรูปแบบ ในวันนี้เราจะมาเล่าถึง 4 แหล่งเงินทุนดีๆที่สตาร์ทอัพควรทำความรู้จัก

 


จากบทความของ SCB bank ได้กล่าวถึง 2 แหล่งเงินทุนสำหรับสตาร์อัพ โดยแหล่งแรกนั้นก็คือ Venture Capital (ธุรกิจเงินร่วมลงทุน) หรือในชื่อย่อที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดีว่า VC พวกเขาเหล่านี้คือนักลงทุนในรูปแบบขององค์กรที่จะระดมเงินทุนให้กับบริษัทที่มีแววหรือมีโอกาสที่จะเติบโตสูงในอนาคต โดย VC จะเข้ามาร่วมลงทุนเป็นระยะเวลายาวนานกว่า 3-5 ปี นอกจากนี้ยังให้คำปรึกษาผู้ประกอบการในการแนะแนวทาง ให้ความช่วยเหลือ และยังสนับสนุนในลักษณะ 3 ข้อ ดังนี้ 


1) สำหรับธุรกิจที่กำลังเริ่มก่อตั้งในช่วงเริ่มต้น

2) สำหรับธุรกิจที่ต้องการขยายกิจการ หรือต้องการเข้าสู่ตลาดใหม่

3) บริษัทที่ต้องการเข้าซื้อหุ้นของกิจการหนึ่งๆโดยใช้เงินที่กู้ยืมเป็นแหล่งเงินทุนที่สำคัญ (Leveraged Buyout หรือ Management Buyout) 

 

แหล่งเงินทุนที่ 2 ที่ SCB bank แนะนำก็คือ Angel Investor (นักลงทุนอิสระ) ที่จะเข้ามาช่วยลงทุนแบบเน้นคุณค่าให้กับธุรกิจในระยะเริ่มต้น นักลงทุนอิสระจะใช้เงินของตัวเองในการลงทุน ซึ่งจะแตกต่างกับ VC ทำให้เงินทุนที่มีไม่สูงมากนัก Angel Investors จึงเหมาะกับธุรกิจที่ต้องการใช้เงินลงทุนไม่กี่ล้านบาท นอกจากนี้พวกเขายังให้คำปรึกษาในเรื่องการบริหารต่างๆได้เป็นอย่างดี สืบเนื่องมาจาก Angel Investors ส่วนมากล้วนมีประสบการณ์ในด้านการบริหารมาก่อนนั่นเอง

 

 

แหล่งเงินทุนสำหรับสตาร์ทอัพแหล่งที่ 3 คือ Government Grant (ทุนอื่นๆจากรัฐบาล) นั้นได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนภาคธุรกิจของประเทศให้ก้าวต่อไป โดยภาครัฐจะเข้ามามีส่วนร่วมในการสนับสนุนธุรกิจในด้านของแหล่งเงินทุน เพื่อที่จะให้นักธุรกิจหน้าใหม่ หรือเหล่าสตาร์ทอัพได้เติบโตต่อไป โดยหน่วยงานที่คอยให้คำสนับสนุน อาทิเช่น “สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ” (สนช.) หรือ “NIA” นอกจากนี้สำหรับธุรกิจอุตสาหกรรมดิจิทัล ก็มีแหล่งเงินทุนอย่าง “สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล” หรือ “depa” เปิดให้สมัครขอรับการสนับสนุนโครงการผ่านมาตรการต่างๆ เช่น การเริ่มต้นธุรกิจอุตสาหกรรมดิจิทัล, การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อภาคธุรกิจอุตสาหกรรม เป็นต้น 

 

มาถึงแหล่งเงินทุนสุดท้ายที่น่าสนใจนั่นก็คือ Crowdfunding (การระดมทุน) โดยข้อมูลจากเว็บไซต์ peerpower.co.th ได้กล่าวว่าคำนี้ได้เกิดขึ้นจากคำ 2 คำ อย่าง Crowd มวลชน + Funding การระดมทุน รวมกันเกิดเป็นความหมายใหม่ว่า การระดมเงินทุนจากมวลชน โดยในที่นี้หมายถึงการระดมเงินทุนจากคนจำนวนมากทั่วโลกผ่านแพลตฟอร์มบนระบบอินเทอร์เน็ต ที่เรียกว่า Funding Portal ซึ่งจะทำให้ธุรกิจของเหล่าผู้ประกอบการนั้นสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้จำนวนมาก โดย Crowdfunding นั้นมีทั้งหมด 4 ประเภท ได้แก่ 

 

1) Donation Crowdfunding หรือ องค์กรการกุศล จะเป็นการระดมทุนและให้การสนับสนุนแก่เจ้าของธุรกิจ โดยไม่หวังผลตอบแทน ซึ่งธุรกิจที่พวกเขาสนใจนั้นมักจะเป็นธุรกิจที่เน้นช่วยเหลือสังคม

2) Reward Crowdfunding เป็นการสนับสนุนแก่เจ้าของธุรกิจ โดยจะมีการแลกเปลี่ยนกันด้วยผลตอบแทน คล้ายการพรีออเดอร์ ที่จะทำการระดมเงินทุนเพื่อให้ธุรกิจนำเงินไปสร้างสินค้าและบริการ โดยผู้ระดมทุนจะได้รับสินค้าและบริการที่ผลิตหรือสิทธิประโยชน์เกี่ยวกับสินค้านั้นตอบแทนในอนาคต

3) Equity Crowdfunding นักลงทุนจะมีสิทธิในหุ้นของกิจการที่นักลงทุนให้เงินลงทุนไป โดยนักลงทุนจะได้รับหุ้นแลกกับเงินทุน พร้อมโอกาสในการได้รับเงินปันผลจากธุรกิจในอนาคต

4) Peer to Peer Lending หรือ P2P Lending เป็นรูปแบบที่คล้ายกับสินเชื่อส่วนบุคคล เป็นการขอสินเชื่อที่ผู้กู้มาขอระดมทุนจากนักลงทุนโดยมีจุดประสงค์เพื่อนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์ที่ได้แจ้งไว้ล่วงหน้า โดยระดมทุนผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ซึ่งจะมีสัญญากู้ยืม และทำการชำระคืนเป็นงวดๆ พร้อมดอกเบี้ยตามที่ระบุไว้ในสัญญา

 

ท้ายที่สุดแล้วแม้ว่าผู้ประกอบการจะมีไอเดียที่อยากจะคิดค้นสิ่งใหม่ๆ มีองค์กรและทีมงานที่คอยให้ความช่วยเหลือ แต่ถ้าหากขาดเงินทุนแล้วนั้นก็คงไม่สามารถทำให้ทุกๆอย่างเกิดขึ้นมาและดำเนินต่อไปได้ ทั้งนี้ผู้ประกอบการจึงควรหมั่นศึกษาหาแหล่งเงินทุนที่น่าสนใจและพัฒนาศักยภาพของธุรกิจตนเองเพื่อที่จะมีความสามารถพร้อมเข้าไปขอรับความช่วยเหลือจากพวกเขาเหล่านี้ได้ต่อไป

 

หากคุณเป็นผู้ประกอบการที่สนใจหาแหล่งเงินทุน ทาง True Digital Park ได้จัดตั้งโปรแกรมบ่มเพาะหรือ Startup Sandbox ขึ้นมา โดยภายในโครงการนั้นมีทั้ง Mentors และ Partners ที่พร้อมให้คำปรึกษาสำหรับเหล่าสตาร์ทอัพอยู่ที่นี่

 

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

https://www.truedigitalpark.com/startup-support/startup-sandbox

 

วิธีเข้าใช้บริการลู่วิ่ง Sky Track ฟรี!

10 . 09 . 24
MEMBERS

READ MORE

งาน JOB CONNECT 2024 มหกรรมหางานสำหรับคนรุ่นใหม่ โดย ทรู ดิจิทัล พาร์ค ร่วมกับ Techsauce และ GetLinks ชวนองค์กรคว้าโอกาสหา Talent ที่ใช่!

02 . 09 . 24
PROMOTIONS

ทรู ดิจิทัล พาร์ค ชวนองค์กรร่วมงาน “JOB CONNECT 2024” งานหางานสำหรับคนรุ่นใหม่ ระหว่างวันที่ 25-27 ต.ค. 67 ที่ ทรู ดิจิทัล พาร์ค เวสต์

READ MORE

นิทรรศการ “Dream a little Dream” พาทุกท่านย้อนเวลากลับไปรำลึกถึงวัยเด็ก

16 . 08 . 24 - 22 . 09 . 24
EVENTS &
HI-LIGHTS

ทรู ดิจิทัล พาร์ค ร่วมกับ Madskills เปิดนิทรรศการ “Dream a little Dream” ที่จะพาย้อนวัยเด็กผ่านภาพวาดจาก 6 ศิลปิน

READ MORE